รูปแบบการเรียนการสอน
2. การศึกษารายวิชา (course work)2.1 การศึกษาด้วยตนเองจากสื่อการสอนทางไกล
ศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ของรายวิชาจากเค้าโครงสาระรายวิชา (Course Syllabus) เช่น คำอธิบายรายวิชา วัตถุประสงค์รายวิชา โครงสร้างเนื้อหา งานมอบหมายและเกณฑ์การประเมิน เป็นต้น ชมสื่อที่ให้ความรู้และแนะแนวการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเพิ่มเติม เช่น วีดีทัศน์ ไฟล์เสียง และเอกสารประกอบการเรียน ซึ่งประเภทของสื่อการเรียนจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละรายวิชา 2.2 การทำกิจกรรมกลุ่มผ่านบทเรียนเสริม
เป็นการทำกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเว็บไซต์ e-Learning ของบัณฑิตวิทยาลัยฯ หรือทำกิจกรรมผ่านช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์คอื่น ๆ เช่น การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาร่วมกันผ่าน LINE เป็นต้น การร่วมกิจกรรมการเรียนรู้เหล่านี้จะกระทำภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ประจำวิชา หรือผู้ช่วยสอน (TA) เพื่อเสริมเนื้อหาสาระของรายวิชาให้ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยกระตุ้นให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมในประเด็นที่น่าสนใจ และนำมาอภิปรายร่วมกัน เพื่อการแลกเปลี่ยนมุมมองให้กว้างขวางขึ้นกัน 2.3 การเข้าร่วมสัมมนาเข้มรายวิชา
เป็นการจัดบรรยายความรู้เพิ่มเติมโดยอาจารย์ประจำวิชาหรือวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามและอภิปรายประเด็นต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจในรายวิชาดังกล่าวมากขึ้น ถือเป็นส่วนสำคัญของกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่นักศึกษาต้องเข้าร่วมกิจกรรม 2.4 การเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
นักศึกษาจะได้ฝึกฝนทักษะทางวิชาการโดยนำเสนอผลงานในประเด็นต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมาย รวมถึงการนำความรู้จากสื่อวีดีทัศน์มาฝึกปฏิบัติผ่านกิจกรรมที่อาจารย์ประจำวิชากำหนด มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะผ่านการฝึกปฏิบัติมากขึ้น 2.5 การสอบประจำภาค
การจัดสอบประจำภาคจะมีเฉพาะบางรายวิชาขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของรายวิชานั้น ๆ บัณฑิตวิทยาลัยฯ เป็นผู้แจ้งกำหนดการและดำเนินการจัดสอบ |
3. การทำผลงานเพื่อจบการศึกษาแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ วิทยานิพนธ์ (Thesis) งานค้นคว้าอิสระ (Independent Study) และโครงการ (Project) สำหรับนักศึกษาที่เรียนแผนการศึกษาพุทธศาสตร์เชิงประยุกต์ สามารถเลือกทำวิทยานิพนธ์หรืองานค้นคว้าอิสระอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อขอจบการศึกษาได้ และนักศึกษาที่เรียนแผนการศึกษาพระพุทธศาสนาเพื่อการดำเนินชีวิตต้องทำโครงการเพื่อขอจบการศึกษา
|
4. การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมประสบการณ์วิชาชีพมหาบัณฑิตฝึกฝนทักษะการทำงานเป็นทีมและการจัดกิจกรรมเชิงวิชาการทางพระพุทธศาสนา หรือทำกิจกรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างเป็นระบบ โดยมีการส่งโครงร่างแผนการปฏิบัติงานและรายงานผลการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อฝึกทักษะและประสบการณ์ก่อนจบการศึกษา เสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์และความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีม พัฒนาบุคลิกภาพและภาวะผู้นำ ตลอดจนส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเพื่อพัฒนาความเป็นพุทธศาสตรมหาบัณฑิตที่สมบูรณ์และสามารถเป็นผู้นำสังคมทางด้านจิตใจและปัญญาได้
|
5. การนำเสนอผลงานทางวิชาการและการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารพุทธศาสตร์เมื่อนักศึกษาทำงานวิจัยเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะต้องส่งบทความวิจัยความยาว 15 หน้ากระดาษ A4 โดยมีองค์ประกอบครบถ้วนตามที่บัณฑิตวิทยาลัยฯ กำหนด เพื่อตีพิมพ์ในวารสารพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมกายแคลิฟอร์เนีย
6. การเข้าร่วมประชุมวิชาการทางพุทธศาสตร์ |
เป็นการเสริมประสบการณ์และมุมมองทางวิชาการให้แก่นักศึกษา ซึ่งนักศึกษาต้องเข้าร่วมประชุมวิชาการทางพุทธศาสตร์อย่างน้อย 2 ครั้ง ที่จัดขึ้นโดยบัณฑิตวิทยาลัย DOU และสามารถส่งบันทึกการเข้าร่วมการประชุมวิชาการภายนอกเพิ่มเติมได้ โดยนักศึกษาต้องทำการบันทึกการเข้าร่วมตามแบบฟอร์มที่บัณฑิตวิทยาลัยฯ กำหนด